เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 5. นวปุราณวรรค 5. จตุตถนิพพาน...สูตร

4. ตติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน สูตรที่ 3

[149] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นว่า ‘จักขุเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘รูปเป็นอนัตตา’
เห็นว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา’ ฯลฯ
เห็นว่า ‘ชิวหาเป็นอนัตตา’ ฯลฯ เห็นว่า ‘มโนเป็นอนัตตา’ เห็นว่า
‘ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘มโนวิญญาณเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘มโนสัมผัส
เป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานเป็นอย่างนี้แล”

ตติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตรที่ 4 จบ

5. จตุตถนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน สูตรที่ 4

[150] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :182 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [1. สฬายตนสังยุต]
3. ตติยปัณณาสก์ 5. นวปุราณวรรค 5. จตุตถนิพพาน...สูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานเป็นอย่างนี้แล”

จตุตถนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตรที่ 5 จบ